ปั้มน้ำอุตสาหกรรม

2573 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปั้มน้ำอุตสาหกรรม

ปั๊มน้ำคือเครื่องมือที่ช่วยในการส่งน้ำ ประกอบด้วย mechanic และ Electricity / engine มี 2 ส่วน มีหัวปั๊มและมอเตอร์ มอเตอร์ทำหน้าที่หมุนให้ตัวปั๊มเคลื่อนที่เพื่อผลักน้ำจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งไปโดยแรงดันและปริมาณน้ำ ตามการออกแบบของแต่ละการใช้งาน ช่วยเสริมน้ำให้แรงขึ้นไปถึงอีกจุดหนึ่งได้พร้อมกับปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าเราต้องการปริมาณน้ำมาก แรงดันจะน้อย ถ้าเราต้องการปริมาณน้ำน้อย แรงดันจะมาก

ถ้าแบ่งประเภทของกลุ่มใช้งานแบบคร่าวๆ  เราจะสามารถแบ่งปั๊มน้ำออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ
ใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรม
ใช้ในกลุ่มที่อยู่อาศัย และถ้าแบ่งปั๊มน้ำย่อยลงมาอีก จะสามารถแบ่งปั๊มน้ำได้อีกหลายประเภท ปั๊มสำหรับที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮ้าส์ จะรวมไปถึงอาคารขนาดเล็ก 5-7 ชั้น  รวมไปถึงอาคารสูง10 ชั้นไป

ปั๊มน้ำในกลุ่มของอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น
ปั๊มน้ำสำหรับระบบทำความเย็น ปั๊มที่ใช้ในการส่งน้ำ Water cooling
ปั๊มน้ำสำหรับอุตสาหกรรมเคมี ใช้สำหรับสูบน้ำที่มีปริมาณของเคมีปนอยู่ด้วย
ปั๊มน้ำสำหรับเครื่องกรองน้ำ ใช้ในการผลักแรงดันน้ำเข้าไปที่ตัว filter หรือตัวกรองเพื่อทำให้น้ำสะอาดขึ้น เรียกว่า ระบบ RO (Reverse Osmosis)
ปั๊มน้ำสำหรับโรงงานผลิตอาหาร จะใช้ปั๊มที่วัสดุเกรดค่อนข้างสูง อาจจะเป็นสแตนเลสหรือทองเหลือง
ปั๊มน้ำสำหรับโรงงานผลิตน้ำแข็ง
ปั๊มน้ำสำหรับโรงงานผลิตน้ำตาล จะเป็นปั๊มที่ใช้ในการสูบน้ำเชื่อม จะเป็นปั๊มเฉพาะทาง
ปั๊มน้ำสำหรับงานชลประทาน ส่งน้ำปริมาณมากๆ




ปั๊มน้ำในกลุ่มที่อยู่อาศัย แบ่งออกเป็น

1.ปั๊มสูบน้ำเก็บบนอาคาร (Transfer)

2.ปั๊มเสริมแรงดัน (Booster Pump)

3.ปั๊มดับเพลิง (Fire Pump) สำหรับอาคาร

4.ปั๊มจุ่ม


1.Sewage pump หรือปั๊มน้ำเสีย ปั๊มกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นปั๊มจุ่มหรือปั๊มที่อยู่ใต้น้ำเรียกว่า submersible pump เป็นปั๊มที่จุ่มใต้น้ำประมาณ 3-5 เมตร ไปจนถึง 10 เมตร ลักษณะบ่อจะใหญ่ เช่น 10 เมตร x 10 เมตร หรือใหญ่กว่านี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ

2.Deep well pump ปั๊มน้ำลึกหรือปั๊มบาดาล ปั๊มจะอยู่ใต้น้ำเช่นกัน แต่เป็นปั๊มที่อยู่ลึกลงไปค่อนข้างมาก ประมาณสัก 50 เมตร ไปจนถึง 200 เมตร เจอจุดน้ำตรงไหน ก็ขุดลงไป ลักษณะของบ่อจะเล็กตามขนาดของปั๊ม ขั้นอยู่กับปริมาณน้ำและแรงดันที่ใช้หรือแล้วแต่การออกแบบ บ่ออาจจะมีขนาด 4 นิ้ว 6 นิ้ว 8 นิ้ว จะเป็นรูลงไปใต้ดิน

3.ปั๊มน้ำที่ใช้กับเครื่องกรองน้ำ RO (Reverse Osmosis) จะเป็นวัสดุที่มีคุณภาพสูงคือเป็นสแตนเลส อาจจะเป็น 304 หรือ 316 แล้วแต่การออกแบบ ปั๊มกลุ่มนี้จะมีชื่อว่า Multistage pump หรือปั๊มหลายใบพัด หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปั๊มปิ่นโต ซึ่งปั๊ม Multistage นี้จะสามารถแบ่งได้เป็น vertical pump หรือปั๊มแนวตั้ง กับ horizontal pump หรือปั๊มแนวนอน ปั๊มกลุ่ม Multistage หรือปั๊มหลายใบพัดนี้ ใช้กับกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ต้องการน้ำสะอาด เช่น โรงพยาบาล โรงงานผลิตอาหาร โรงงานผลิตยา ปั๊มน้ำ Multistage นี้ไม่สามารถใช้กับน้ำเสีย หรือน้ำที่มีตะกอนได้ เพราะปั๊มหลายใบพัดนี้เป็นปั๊มที่มีแรงดันสูง และใบพัดที่ได้รับการออกแบบมาตำแหน่งอยู่ค่อนข้างติดกัน ถ้ามีการไปใช้กับน้ำที่มีตะกอน มีสิ่งสกปรก เศษอาจจะเข้าไปติดที่ระยะ clearance หรือช่องว่างระหว่างใบพัดได้ ทำให้มอเตอร์ไหม้เสียหายได้ ปั๊มหลายใบพัดหรือ Mutistage pump จึงเหมาะสมสำหรับน้ำสะอาดเท่านั้น หรือ ระบบ บอยเลอร์ สระว่ายน้ำ

4.Centrifugal Pump หรือปั๊มหอยโข่ง สามารถแบ่งเป็น vertical pump ปั๊มแนวตั้ง กับ horizontal pump ปั๊มแนวนอนได้เช่นกัน ส่วนใหญ่ในบ้านเราจะใช้ปั๊มหอยโข่งแนวนอนค่อนข้างมาก ปั๊มประเภทนี้ใช้ได้หลากหลายมาก สามารถใช้สำหรับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมก็ได้ หรือสามารถนำมาใช้ในกลุ่มทีอยู่อาศัยก็ได้ ลักษณะการเลือกใช้งานบ้านกับอาคารจะเป็นขนาดเล็ก แต่ปั๊มที่ใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นขนาดใหญ่ ปั๊มน้ำ ประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมจะเป็นปั๊มที่ใช้สำหรับระบบทำความเย็น Chiller เป็นระบบทำความเย็นที่ใช้กับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่มีระบบปรับอากาศ หรือ โรงไฟฟ้า Cooling ในกลุ่มนี้จะมีการใช้ปั๊มหอยโข่งเป็นตัวส่งน้ำ

5.Double suction Pump หรือที่นิยมเรียกกันว่า Split case pump เป็นปั๊มที่มีการติดตั้งมอเตอร์ได้สองทิศทาง ซึ่งเหมาะสำหรับใช้กับงานชลประทาน งานที่ต้องการส่งน้ำปริมาณมากๆ แรงดันไม่สูง การซ่อม การบำรุงรักษาค่อนข้างทำได้ง่ายกว่าปั๊มทั่วๆไป

6.Diaphragm Pump เป็นปั๊มที่ไว้ใช้ส่งน้ำที่มีเศษมีตะกอนได้ ใช้กับโรงงานผลิตยา หรือโรงงานผลิตอาหาร

7.Complete set Pump ปั๊มต่อยอย หมายถึง การนำปั๊มน้ำมาส่งกำลังโดยเครื่องยนต์ อาจจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์เบนซิน หรืออาจจะเป็นมอเตอร์ที่ใช้ไฟฟ้าก็ได้ สามารถนำมาส่งกำลังกับปั๊มน้ำได้ มีอยู่ 3 ประเภท ที่นิยมใช้ คือ Double Suction pump, Centrifugal pump, vertical pump5 kw.ขึ้นไป (ปั๊มแนวตั้ง) ก็สามารถทำได้ ซึ่งนอกจากนี้ ปั๊มดับเพลิง ที่มีผลิตสำเร็จมาจากโรงงานก็มีพบเช่นกัน ซึ่งต้องผ่านมาตรฐาน FM (Factory Mutual Global) และ UL (Underwriters’ Laboratories Inc. องค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรและรับรองความปลอดภัยของสินค้า) ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบดับเพลิงที่ได้รับการยอมรับ แต่บางโรงงานผู้ผลิต ไม่สามารถที่จะผ่านมาตรฐานหรือการยอมรับดังกล่าวได้ ถ้าไม่ผ่านบ้านเราก็จะไม่ยอมรับ จึงมีอีกวิธีคือ โรงงานผู้ผลิตหรือผู้ออกแบบสามารถที่จะเอาปั๊มของแต่ละโรงงานประกอบเองได้ แต่โรงงงานประกอบนั้นๆ ต้องผ่านมาตรฐาน FM และ UL

การเลือกปั๊มน้ำให้มีความเหมาะสม
เริ่มตั้งแต่ช่วงการออกแบบที่พักอาศัยหรืออาคาร ผู้ออกแบบงานระบบน้ำต้องสามารถเลือกปั๊มน้ำที่มีความเหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ควรเลือกปั๊มที่ตัวเล็กหรือใหญ่เกินไป เช่น ในบ้านหนึ่งหลัง เป็นที่พักอาศัยของคน 4-5 คน เราควรเลือกปั๊มน้ำที่สามารถให้น้ำเพียงพอสำหรับคน 4 -5 คน เราจะไม่เลือกปั๊มน้ำที่สำรองการใช้งานสำหรับ 10 คน เพราะมันใหญ่ไป และเราจะไม่เลือกปั๊มน้ำที่เล็กสำหรับการใช้งานแค่ 2 คน เพราะมันเล็กไป การเลือกปั๊มน้ำแบบนี้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะปั๊มน้ำไม่ได้ใหญ่เกินความจำเป็น ช่วงการทำงานของปั๊มน้ำ เรียกว่า curve pump จะมีจุดทำงานของปั๊มน้ำที่เป็นจุดต่ำที่สุด, มีจุดที่เป็นจุดกลาง  และมีจุดที่เป็นจุดสูงสุด เวลาเลือกปั๊มน้ำ ควรเลือกจุดที่เป็นจุดกลาง ซึ่งจะเป็นช่วงที่ปั๊มน้ำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (Efficiency) แต่ถ้าเราเลือกปั๊มน้ำที่อยู่ในช่วงสูงที่สุด มอเตอร์จะมีโอกาสเสียหายเร็วมากเพราะช่วงทำงานหนัก และหากเราเลือกปั๊มน้ำที่อยู่ในจุดที่ต่ำที่สุด มอเตอร์จะทำงานเพียงสั้นๆสลับกับการหยุดทำงานเป็นพักๆ จะโอกาสส่งผลให้มอเตอร์อายุการทำงานสั้นและเสียหายเร็วได้เช่นกัน
ลักษณะของน้ำ ต้องมีความเหมาะสมกับลักษณะของปั๊มน้ำ น้ำสะอาดหรือไม่ มีตะกอนตะกรันหรือไม่ เป็นน้ำประปา หรือเป็นน้ำมีเคมีหรือไม่ เมื่อทราบลักษณะของน้ำแล้ว จะสามารถระบุวัสดุของปั๊มที่เหมาะสมได้
พื้นที่ติดตั้ง ต้องมีการเลือกที่เหมาะสม ขนาดของพื้นที่สามารถติดตั้งได้หรือไม่ เช่น ถ้ามีพื้นที่มาก เราสามารถเลือกปั๊มน้ำแนวนอนได้ ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าปั๊มแนวตั้ง ที่เหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ที่แคบกว่า
เลือกมอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง จะส่งผลต่อเรื่องการประหยัดพลังงาน มีการแบ่งประเภทของมอเตอร์ดังนี้
IE1 (Standard Efficiency), IE2 (High Efficiency), IE3 (Premium Efficiency) และ IE4 (Super Premium Efficiency) ยิ่งตัวเลข IE (Efficiency) สูง จะยิ่งประหยัดพลังงาน และมีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย ปัจจุบันที่เป็นที่นิยมในบ้านเราคือ IE2 และ IE3 ในขณะที่เมืองนอกจะเป็น IE3 และอาจจะไปถึง IE4

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้